วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ปราสาทนครวัด

ปราสาทนครวัดเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ฝรั่งต่างชาติต่างยอมรับในความสวยงาม เราจะเห็นได้ว่า 5 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนแต่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จะมีก็แต่เพียงปราสาทนครวัดและทัชมาฮาลเท่านั้นที่อยู่นอกประเทศทั้งสอง

ปราสาทนครวัด เป็นประสาทศิลาแลงขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา จัดเป็นปราสาทศิลาขนาดใหญ่ที่ยังคงอยู่ ตระหง่านท้ากาลเวลานานหลายร้อยปี ผู้ที่สร้างนครวัดขึ้นมาเป็นพระองค์แรกคือพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 โดยพระองค์มีพระประสงค์ที่จะยกพระฐานของกษัตริย์กัมพูชาให้เทียบเท่ากับเทพเจ้า ปราสาทนครวัดแห่งนี้จึงเป็นที่สถิตของพระวิษณุ เทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกัมพูชา และพระองค์ทรงใช้สถานที่แห่งนี้ในการเผาพระบรมศพของพระองค์

ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา

ภายในบริเวณของตัวปราสาทจะรายล้อม

อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยในระด้บโลก

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองเก่าสุโขทัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒,๐๕๐ ไร่ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้ประกาศเขตเพิ่มเติมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๔๓,๗๕๐ ไร่ หรือประมาณ ๗๐ ตารางกิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒๘,๒๑๗ ไร่ หรือ ๔๕.๑๔ ตารางกิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยในระด้บโลก

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองเก่าสุโขทัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒,๐๕๐ ไร่ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้ประกาศเขตเพิ่มเติมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๔๓,๗๕๐ ไร่ หรือประมาณ ๗๐ ตารางกิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒๘,๒๑๗ ไร่ หรือ ๔๕.๑๔ ตารางกิโลเมตร

2011年8月2日 星期二

อยุทยา

อาณาจักรอยุธยาจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
"กรุงศรีอยุธยา" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับธนาคาร ดูที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา และระวังสับสนกับ อโยธยา

อาณาจักรอยุธยา

ราชอาณาจักร
พ.ศ. 1893–พ.ศ. 2310 →
สัญลักษณ์
ธงค้าขาย ตราแผ่นดิน
แผนที่แผนที่อาณาจักรอยุธยาประมาณ พ.ศ. 1953 (สีม่วงเข้ม)ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]เมืองหลวง กรุงศรีอยุธยา
พิษณุโลก (พ.ศ. 2006-2031) [1]
ลพบุรี[ต้องการอ้างอิง]
ภาษา ภาษาไทย
การปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์
- 1893 - 1952 ราชวงศ์อู่ทอง
- 1952 - 2112 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- 2112 - 2172 ราชวงศ์สุโขทัย
- 2172 - 2231 ราชวงศ์ปราสาททอง
- 2231 - 2310 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ยุคประวัติศาสตร์ ยุคกลาง และยุคเรอเนซองส์
- พ.ศ. 1893 สถาปนา
- พ.ศ. 2112 เสียกรุงครั้งที่หนึ่ง
- 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เสียกรุงครั้งที่สอง
ปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ ต่อจากนี้
อาณาจักรละโว้
อาณาจักรเพชรบุรี
อาณาจักรนครศรีธรรมราช
อาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียง ประมาณ 2500 ก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ประมาณ 2000 ก่อน พ.ศ.
ยุคอาณาจักร
สุวรรณภูมิ
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3-5
โจฬะ
พุทธศตวรรษที่ 2-17
สุวรรณโคมคำ
พศว. 4-5
ทวารวดี-นครชัยศรี
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15
โยนกนาคพันธุ์
638-1088
คันธุลี
994-1202 เวียงปรึกษา
1090-1181
ศรีวิชัย
1202-1758 ละโว้
1191 -1470 หิรัญเงินยางฯ
1181 - 1805
หริภุญชัย
1206-1835
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470
สุพรรณภูมิ
ละโว้
ตามพรลิงค์
พริบพรี
นครศรีธรรมราช สุโขทัย
1792-1981 พะเยา
1190-2011 เชียงราย
1805-1835
ล้านนา
1835-2101
อยุธยา (1)
พ.ศ. 1893-2112
สค.ตะเบ็งชเวตี้
สค.ช้างเผือก
เสียกรุงครั้งที่ 1
พ.ศ. 2112 พิษณุโลก
2106-2112 ล้านนาของพม่า
2101-2317
กรุงศรีอยุธยา (2)
พ.ศ. 2112-2310
เสียกรุงครั้งที่ 2
สภาพจลาจล
กรุงธนบุรี
พ.ศ. 2310-2325 ล้านนาของสยาม
พ.ศ. 2317-2442
นครเชียงใหม่


กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
สงครามเก้าทัพ
อานามสยามยุทธ
การเสียดินแดน
มณฑลเทศาภิบาล
สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2

ยุครัฐประชาชาติ
ประเทศไทย
ปฏิวัติ พ.ศ. 2475
เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ สหรัฐไทยเดิม
พ.ศ. 2485-2489

จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข


อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ[2] อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ[3] เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนบริเวณซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่พระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศด้วย

ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

[แก้] ประวัติ[แก้] จุดเริ่มต้นชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร[5]

ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) [6] และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712[7] ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[8] (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ. 1351) ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถาน[9] ประวัติศาสตร์บางแห่ง[ต้องการอ้างอิง]ระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยา

[แก้] การขยายดินแดนกรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร

[แก้] การล่มสลายของอาณาจักรดูเพิ่มที่ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม

ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

[แก้] การกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2ครั้นต่อมา พระยาวชิรปราการได้รวบรวมชุมนุมทั้งหมดที่เมืองจันทร์ แล้วได้ขับไล่พม่า และสามารถกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ได้สำเร็จในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 จากนั้นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการได้ทำพิธีปราบดาภิเษกทำนองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (แต่นักประวัติศาสตร์นับเป็นสมัยธนบุรี) เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4" แต่ส่วนมากคนมักเรียกท่านว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา ก่อนจะย้ายราชธานีไปยังกรุงธนบุรีเป็นการชั่วคราว

[แก้] พระราชวงศ์ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ

1.ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
2.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3.ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4.ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5.ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์
ซึ่งรวมเป็นกษัตริย์รวม 34 (นับรวมขุนวรวงศาธิราช ) พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้

[แก้] พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ พระราชวงศ์
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) อู่ทอง
2 สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 - 1913 (1 ปี) อู่ทอง
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 1931 - 1938 (7 ปี) อู่ทอง
5 สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร) 1938 - 1952 (14 ปี) อู่ทอง
6 สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว) 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ ) 1967 - 1991 (24 ปี) สุพรรณภูมิ
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 - 2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12 พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 (5 เดือน) สุพรรณภูมิ
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14 พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
15 ขุนวรวงศาธิราช 2091 (42 วัน) -
16 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
17 สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
18 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ) 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
19 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
20 สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 - 2163 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
21 พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) 2163 - 2164 (1 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
22 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) [ต้องการอ้างอิง] 2164 - 2171 (7 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
23 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2171-2172 (2 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
24 พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (36 วัน) สุโขทัย (พระร่วง)
25 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2198 (26 ปี) ปราสาททอง
26 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2198-2199 (1 ปี) ปราสาททอง
27 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
29 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2251 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
31 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2251 - 2275 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
32 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
33 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
34 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

[แก้] การปกครองการจัดการปกครองในสมัยอยุธยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสามช่วง คือ ช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (1839-1991) ช่วงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา (1991-2231) และการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระเพทราชาเป็นต้นไป (2231-2310)

[แก้] อยุธยาตอนต้น (1893-1991)มีการปกครองคล้ายคลึงกับในช่วงสุโขทัย ในราชธานี พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ปกครองโดยตรง หากก็ทรงใช้อำนาจผ่านข้าราชการและขุนนางเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการปกครองภายในราชธานีที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามการเรียกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ[10] อันได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา

การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมาก[11] เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง หากก็นำมาซึ่งปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง เมืองชั้นในทรงปกครองโดยผู้รั้ง ถัดออกไปเป็นเมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก ปกครองโดยเจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายมาแต่เดิม มีหน้าที่จ่ายภาษีและเกณฑ์ผู้คนในราชการสงคราม[11] และสุดท้ายคือเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์ปล่อยให้ปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้ราชธานีทุกปี

[แก้] สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงพระเพทราชา (1991-2231)สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกระบบเมืองหน้าด่านเพื่อขจัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ และขยายอำนาจของราชธานีโดยการกลืนเมืองรอบข้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชธานี[12] สำหรับระบบจตุสดมภ์ ทรงแยกกิจการพลเรือนออกจากกิจการทหารอย่างชัดเจน ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมุหนายกและสมุหกลาโหมตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อกรมและชื่อตำแหน่งเสนาบดี แต่ยังคงไว้ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเดิม

ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานี มีระบบการปกครองที่ลอกมาจากราชธานี[13] มีการลำดับความสำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมากนัก หากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุมความจงรักภักดีต่อราชธานีหลายวิธี เช่น การเรียกเจ้าเมืองประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานี การอภิเษกสมรสโดยการให้ส่งราชธิดามาเป็นสนม และการส่งข้าราชการไปปกครองเมืองใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส่งข่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช[14]

[แก้] สมัยตั้งแต่พระเพทราชา (2231-2310)ในสมัยพระเพทราชา ทรงกระจายอำนาจทางทหารซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหมแต่ผู้เดียวออกเป็นสามส่วน โดยให้สมุหกลาโหมเปลี่ยนไปควบคุมกิจการทหารในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางใต้ ให้สมุหนายกควบคุมกิจการพลเรือนในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางเหนือ และพระโกษาธิบดี ให้ดูแลกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองตะวันออก ต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2275-2301) ทรงลดอำนาจของสมุหกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองทางใต้ไปขึ้นกับพระโกษาธิบดีด้วย[15]

นอกจากนี้ ในสมัยพระมหาธรรมราชา ยังได้จัดกำลังป้องกันราชธานีออกเป็นสามวัง ได้แก่ วังหลวง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางเหนือ วังหน้า มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันออก และวังหลัง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันตก ระบบดังกล่าวใช้มาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[15]

[แก้] ประชากรศาสตร์
กลุ่มชาติพันธุ์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน[16] แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตังเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก[17] มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือไทยสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-กะไดเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบกวางสี คาบเกี่ยวไปถึงกวางตุ้งและแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงในเวียดนามตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความคลื่นไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการคลื่นไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย[18] ในยุคอาณาจักรทวารวดีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี พ.ศ. 1100 ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย[18] ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบสุพรรณบุรี ราชบุรี ถึงเพชรบุรีและเกี่ยวข้องไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช[19] ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกเกี่ยวกับชาวสยามว่า ชาวลาวกับชาวสยามเกือบจะเป็นชนชาติเดียวกัน[20]

เอกสารจีนที่บันทึกโดยหม่าฮวนได้กล่าวไว้ว่า ชาวเมืองพระนครศรีอยุธยาพูดจาด้วยภาษาอย่างเดียวกับกลุ่มชนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน[18] คือพวกที่อยู่ในมณฑลกวางตุ้งกับกวางสี และด้วยความที่ดินแดนแถบอุษาคเนย์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายตั้งหลักแหล่งอยู่ปะปนกันจึงเกิดการประสมประสานทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาจนไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน[21] และด้วยการผลักดันของรัฐละโว้ ทำให้เกิดรัฐอโยธยาศรีรามเทพนคร ภายหลังปี พ.ศ. 1700 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหลายอย่าง[21]

ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เชลยที่ถูกกวาดต้อน ตลอดจนถึงชาวเอเชียและชาวตะวันตกที่เข้ามาเพื่อการค้าขาย ในกฎมนเทียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยาได้เรียกชื่อชนพื้นเมืองต่างๆได้แก่ "แขกขอมลาวพม่าเมงมอญมสุมแสงจีนจามชวา..."[22] ซึ่งมีการเรียกชนพื้นเมืองที่อาศัยปะปนกันโดยไม่จำแนกว่า ชาวสยาม[22] ในจำนวนนี้มีชาวมอญอพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื่องจากชาวมอญไม่สามารถทนการบีบคั้นจากการปกครองของพม่าในช่วงราชวงศ์ตองอู จนในปี พ.ศ. 2295 พม่าได้ปราบชาวมอญอย่างรุนแรง จึงมีการลี้ภัยเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก[23] โดยชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เช่น บ้านขมิ้นริมวัดขุนแสน ตำบลบ้านหลังวัดนก ตำบลสามโคก และวัดท่าหอย[24] ชาวเขมรอยู่วัดค้างคาว[25] ชาวพม่าอยู่ข้างวัดมณเฑียร[26] ส่วนชาวตังเกี๋ยและชาวโคชินไชน่า (ญวน) ก็มีหมู่บ้านเช่นกัน[27] เรียกว่าหมู่บ้านโคชินไชน่า[28] นอกจากนี้ชาวลาวก็มีจำนวนมากเช่นกัน โดยในรัชสมัยของสมเด็จพระราเมศวรครองราชย์ครั้งที่สอง ได้กวาดต้อนครัวลาวเชียงใหม่ส่งไปไว้ยังจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และจันทบุรี[29] และในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงยกทัพไปตีล้านนาในปี พ.ศ. 2204 ได้เมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงแสน และได้กวาดต้อนมาจำนวนหนึ่ง[30]เป็นต้น โดยเหตุผลที่กวาดต้อนเข้ามา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร[31] และนอกจากกลุ่มประชาชนแล้วกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่เป็นเชลยสงครามและผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีทั้งเชื้อพระวงศ์ลาว, เชื้อพระวงศ์เชียงใหม่ (Chiamay), เชื้อพระวงศ์พะโค (Banca), และเชื้อพระวงศ์กัมพูชา[32]

นอกจากชุมชนชาวเอเชียที่ถูกกวาดต้อนมาแล้วก็ยังมีชุมชนของกลุ่มผู้ค้าขายและผู้เผยแผ่ศาสนาทั้งชาวเอเชียจากส่วนอื่นและชาวตะวันตก เช่น ชุมชนชาวฝรั่งเศสที่บ้านปลาเห็ด[33] ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้นอกเกาะอยุธยาใกล้กับวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งภายหลังบ้านปลาเห็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเซนต์โยเซฟ[34] หมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่ริมแม่น้ำระหว่างหมู่บ้านชาวมอญและโรงกลั่นสุราของชาวจีน ถัดไปเป็นชุมชนชาวฮอลันดา[35] ทางใต้ของชุมชนฮอลันดาเป็นถิ่นพำนักของชาวอังกฤษ, มลายู และมอญจากพะโค[36] นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนของชาวอาหรับ เปอร์เซีย และกลิงก์ (คนจากแคว้นกลิงคราฎร์จากอินเดีย)[37] ส่วนชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งอยู่ตรงข้ามชุมชนญี่ปุ่น ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่มักสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวสยาม จีน และมอญ[38] ส่วนชุมชนชาวจาม มีหลักแหล่งแถบคลองตะเคียนทางใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า ปทาคูจาม มีบทบาทสำคัญด้านการค้าทางทะเล และตำแหน่งในกองทัพเรือ เรียกว่า อาษาจาม และเรียกตำแหน่งหัวหน้าว่า พระราชวังสัน[39]

ภาษาสำเนียงดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยามีความเชื่อมโยงกับชนพื้นเมืองตั้งแต่ลุ่มน้ำยมที่เมืองสุโขทัยลงมาทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกในแถบสุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี ซึ่งสำเนียงดังกล่าวมีความใกล้ชิดกับสำเนียงหลวงพระบาง โดยเฉพาะสำเนียงเหน่อของสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงหลวงพระบาง[40] ซึ่งสำเนีงเหน่อดังกล่าวเป็นสำเนียงหลวงของกรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวกรุงศรีอยุธยาทั้งพระเจ้าแผ่นดินจนถึงไพร่ฟ้าราษฏรก็ล้วนตรัสและพูดจาในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นขนบอยู่ในการละเล่นโขนที่ต้องใช้สำเนียงเหน่อ โดยหากเปรียบเทียบกับสำเนียงกรุงเทพฯในปัจจุบันนี้ ที่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นสำเนียงบ้านนอกถิ่นเล็กๆของราชธานีที่แปร่งและเยื้องจากสำเนียงมาตรฐานของกรุงศรีอยุธยา[41] และถือว่าผิดขนบ[40]

ภาษาดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาปรากฏอยู่ในโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นร้อยกรองที่เต็มไปด้วยฉันทลักษณ์ที่แพร่หลายแถบแว่นแคว้นสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์[42] และภายหลังได้พากันเรียกว่า โคลงมณฑกคติ เนื่องจากเข้าใจว่าได้รับแบบแผนมาจากอินเดีย[42] ซึ่งแท้จริงคือโคลงลาว หรือ โคลงห้า ที่เป็นต้นแบบของโคลงดั้นและโคลงสี่สุภาพ[40] โดยในโองการแช่งน้ำเต็มไปด้วยศัพท์แสงพื้นเมืองของไทย-ลาว ส่วนคำที่มาจากบาลี-สันสกฤต และเขมรอยู่น้อย[40] โดยหากอ่านเปรียบเทียบก็จะพบว่าสำนวนภาษาใกล้เคียงกับข้อความในจารึกสมัยสุโขทัย และพงศาวดารล้านช้าง[40]

ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลและเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติทำให้สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ต่างกับบ้านเมืองแถบสองฝั่งโขงที่ห่างทะเลเป็นเหตุที่ทำให้มีลักษณะที่ล้าหลังจึงสืบทอดสำเนียงและระบบความเชื่อแบบดั้งเดิมไว้ได้เกือบทั้งหมด[41] ส่วนภาษาในกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับอิทธิพลของภาษาจากต่างประเทศจึงรับคำในภาษาต่างๆมาใช้ เช่นคำว่า กุหลาบ ที่ยืมมาจากคำว่า กุล้อบ ในภาษาเปอร์เซีย ที่มีความหมายเดิมว่า น้ำดอกไม้[43] และยืมคำว่า ปาดรื (Padre) จากภาษาโปรตุเกส แล้วออกเสียงเรียกเป็น บาทหลวง[44] เป็นต้น

[แก้] ระบบไพร่ดูเพิ่มที่ ไพร่
อาณาจักรอยุธยามีการใช้ระบบไพร่อันเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยสุโขทัย[45] โดยกำหนดให้ชายทุกคนที่สูงตั้งแต่ 1.25 เมตรขึ้นไปต้องลงทะเบียนไพร่[45] ไพร่จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายเดือนเว้นเดือน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือเสบียงอาหารใด ๆ

ระบบไพร่มีความสำคัญต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เพราะหากมีการเบียดบังไพร่โดยเจ้านายหรือขุนนางไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราชบัลลังก์ได้ ตลอดจนส่งผลให้กำลังในการป้องกันอาณาจักรก็จะอ่อนแอ ไม่เป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ ระบบไพร่ยังเป็นการเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานชีวิตและความมั่นคงของอาณาจักร[46]

[แก้] ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
อาณาจักรอยุธยามักส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทุกสามปี เครื่องบรรณาการนี้เรียกว่า "จิ้มก้อง" นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการส่งเครื่องราชบรรณาการดังกล่าวแฝงจุดประสงค์ทางธุรกิจไว้ด้วย คือ เมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแล้วก็จะได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาเป็นมูลค่าสองเท่า[47] ทั้งยังเป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะมีขุนนางและพ่อค้าเดินทางไปพร้อมกับการนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายด้วย

อาณาจักรอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกในด้านการค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา โดยชาวตะวันตกได้นำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาด้วย ต่อมา คอนสแตนติน ฟอลคอนได้เข้ามามีอิทธิพลและยังมีหลักฐานว่าคบคิดกับฝรั่งเศสจะยึดครองกรุงศรีอยุธยา[47] บรรดาขุนนางจึงประหารฟอลคอนเสีย และลดระดับความสำคัญกับชาติตะวันตกตลอดช่วงเวลาที่เหลือของอาณาจักรอยุธยา

[แก้] อ้างอิง
1.^ ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 305.
2.^ ดนัย ไชยโยค. (2550). ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคอาณาจักรอยุธยา. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 8.
3.^ ชนิดา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2542). ท่องเที่ยวไทย. บริษัท สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด. ISBN 974-86261-9-9. หน้า 40.
4.^ Hooker, Virginia Matheson (2003). A Short History of Malaysia: Linking East and West. St Leonards, New South Wales, Australia: Allen and Unwin. pp. 72. ISBN 1864489553. http://books.google.com/books?id=6F7xthSLFNEC&pg=PA72&lpg=PA72&dq=Ayutthaya++malay&source=bl&ots=IWjog_W6PG&sig=NKxfDLm13dLnJ6Si72q-F744g5A&hl=en&ei=u7lQSsrsDou4M-2T8e0D&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=6. Retrieved 2009-07-05.
5.^ พระบริหารเทพธานี. (2541). ประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 67.
6.^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545). บรรพบุรุษไทย: สมัยอยุธยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 2.
7.^ ลำจุล ฮวบเจริญ, เกร็ดพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 3, พ.ศ. 2548, หน้า 2
8.^ เรื่องของไทยในอดีต
9.^ พระบริหารเทพฑานี. (2541). ประวัติชาติไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 71.
10.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 5.
11.^ 11.0 11.1 โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 6.
12.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 7.
13.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 9.
14.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 10.
15.^ 15.0 15.1 โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 11.
16.^ มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, เล่มที่ 1, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2510,หน้า 46
17.^ มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์,หน้า 47
18.^ 18.0 18.1 18.2 สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน? หน้า 128
19.^ สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 130
20.^ มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์,หน้า 45
21.^ 21.0 21.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 129
22.^ 22.0 22.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. หน้า 188
23.^ สุภรณ์ โอเจริญ. ชาวมอญในประเทศไทย:วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2519), หน้า 48-68
24.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด).พระนคร:คลังวิทยา, 2507, หน้า 145 และ 403
25.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), หน้า 446
26.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), หน้า 463
27.^ นิโกลาส์ แชรแวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม(ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช), แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2506, หน้า 62
28.^ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 36 ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, เล่ม 9. พระนคร:ก้าวหน้า, 2507, หน้า 150
29.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), หน้า 507-508
30.^ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า. พระนคร:คลังวิทยา, 2514. หน้า 235-237
31.^ บังอร

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ลัทธิชาตินิยม

ความเป็นมา ของลัทธิชาตินิยม


ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิการเมืองที่เน้นความจงรักภักดีต่อรัฐชาติ โดยถึงว่าชาติเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกย่ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหรือวัฒนธรรม ลัทธิชาตินิยมจึงมิได้เป็นเพียงรูปแบบทางการเมือง แต่เป็นอุดมคติในการดำเนินชีวิต
การเกิดรัฐชาติและความรู้สึกในเรื่องความเป็นชาติของคนในแต่ละสมัยแต่ละท้องถิ่น แม้จะมีลักษณะคล้ายลึงกันแต่ก็มีส่วนแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ การเมือง สังคม และประวัติศาสตร์ เมื่อพิจารณาลักษณะละเอียดแล้ว ชาตินิยมของแต่ละชาติจึงมีลักษณะต่างกัน
ลัทธิชาตินิยมเจริญขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕- ๑๗ เกิดจากกษัตริย์ต้องการพ้นจากอำนาจของศาสนจักรคาทอลิก และอิทธิพลของขุนนางในระบอบพี่วดัล นโยบายพาณอชยนิยม ชึ่งรัฐใช้นโยบายสนับสนุนการค้าภายนอกเป็นนโยบายระดับชาติ ช่วงเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจแก่กษัตริย์และชนชั้นกลาง ส่วนการสนับสนุนให้ใช้ภาษาประจำชาติแทนภาษาประจำชาติแทนภาษาละตินก็ทำให้วัฒธรรมของเชื้อชาติแต่ละเชื้อชาติเจริญขึ้น เนื้อหาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆก็หันกลับไปสู่กรีกและโรมันแทนวัฒนธรรมของคริสต์ศาสนา จึงอาจกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมในเบื้องต้นนี้เป็นลัทธิชาตินิยมของชนชั้นสูงคือกษัตริย์
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ ๑๙ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นการมาชีพ แนวความคิดแบบสังคมนิยมชึ่งเน้นความเสนอภาค ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาตินิยมในยุคนี้ ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียทำให้พวกสังคมนิยมมีกำลังใจในการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนระบบการเมืองใหม่ ความคิดได้แผ่เข้าไปในเอเซียและแอฟริกา โดยเฉพาะประเทศอาณานิคมการกู้ชาติกับการเป็นสังคมนิยมจึงมีความสัมพันธ์กัน และมีลักษณะเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพต่อผ่ายปกครอง โดยเฉพาะที่เป็นคนต่างชาติ เป็นการปฏิวัติของผ่ายซ้ายต่อผ่ายขวา ในช่วงนี้จึงกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมคติของชนชั้นกรรมาชีพ


ความหมาย ของลัทธิชาตินิยม
ชาตินิยม หรือคำว่า Nationalism หมายถึง อุดมการณ์ทางการเมืองประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ได้ให้ความหมายของชาตินิยม ว่าหมายถึง การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตนรวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ได้ถกเถียงกันมาเป็นเวลายาวนานและยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด ในประเด็นนี้รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะได้แบ่งแนวความคิดชาตินิยมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกมองว่าชาตินิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยใหม่ ซึ่งชาตินิยมหรือความรักชาตินั้นเป็นสิ่งที่มีมาควบคู่กับมนุษย์มาแต่โบราณ ส่วนอีกกลุ่มมองว่าชาตินิยมเป็นผลผลิตของกระบวนการสร้างชาติในยุคใหม่ ซึ่งความแตกต่างและความผูกพันต่อชาติแบบที่เรียกกันว่าชาตินิยมนั้น เป็นปรากฏการณ์ของสังคมสมัยใหม่ อันเป็นไปในแนวทางเดียวกับดร.ธีรยุทธ บุญมี
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะ และดร.ธีรยุทธ บุญมี เห็นตรงกันว่า ชาติและชาตินิยม เป็นผลผลิตของยุคสมัยใหม่ หรือความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) ที่จะเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ ความเหมือนกัน (Homogeneity) ความเป็นหนึ่งเดียว และความมาตรฐานเดียวกัน เช่น ภาษา วัฒนธรรม และประเพณี และอาจจะอธิบายขยายความต่อได้ว่า ชาตินิยมในสมัยใหม่ หมายถึง การใช้อำนาจทางการเมืองและทางทหารของกลุ่มชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ หรือเชิงศาสนา (ผู้เขียน)
ลักษณะ
ลักษณะของลัทธิชาตินิยมแบบนี้มีลักษณะยํ้าการดำ เนินนโยบายของชาติของตน
การดำ รงไว้ซึ่งบูรณภาพของชาติ การเพิ่มอำ นาจของชาติ ขณะเดียวกันเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของตน มีความพยายามที่จะรักษาและเพิ่มพูนความไพศาล ศักดิ์ศรีและผลประ-
โยชน์ของชาติตนไว มีการเน้นความสาํ คญั ของเชอื้ ชาติ เผ่าพันธุ์ของตน วา่ เหนอื เชอื้ ชาติหรือเผ่าพันธุ์อื่น ("สังคมโลก หน่วยที่1-7" ,2527 : 263 )
เป็นการนำแนวคิดเรื่องชาตินิยมมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง จะดำเนินการในลักษณะดังต่อไปนี้
1. สร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นในชาติ ทั้งในยามปกติและยามวิกฤต
2. สร้างเอกลักษณ์ของชาติเพื่อป้องกันการคุกคามจากต่างชาติ ในด้านต่าง ๆ
3. ควบคุมการขยายตัวของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ และรวมถึงชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมือง
4. สร้างกระแสการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการต่อต้านแนวคิดการค้าเสรี

Chinese Poster




Poster เขียนว่า ครูสอนพิเศษที่ยิ่งใหญ่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ยิ่งใหญ่
ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ นายท้ายที่ยิ่งใหญ่
ประธานเหมาอายุยาวนาน อายุยาวนาน อายุยาวๆนาน
มหาวิทยลัยฝึกหัดครูปักกิ่งทหารแดงกลุ่มเลขที่ 4 ปี ค.ศ1967







รูปภาพนี้มีทหารถือหนังสือเชื่อว่า
การบริการเพื่อประชาชน
การระลึกหมอปายเหฉียวอืน
ตาโง่ขย้ายเขา
-- โดยเหมาเฉอตอง
ภูมิหลัง
ปฏิวัติวัฒนธรรมคือ ปี ค.ศ 1966 ถึง1976 โดยประธานเหมาออกคำสั่งและเป็นผู้นำที่กิจกรรมการเมืองอยู่ที่จีน

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจสมัยล้านนา

อาณาจักรล้านนา


-ที่ตั้ง อยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย


-ภูมิประเทศ สิบสองปันนาเชนเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง


-ประวัดแหล่งท่องเที่ยว


พญามังรายพ่อขุนรามคำแหงพญางำเมืองพญามังราย หรือ เม็งราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญาเม็งรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย








หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเหมาะแก่การค้าขาย มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็นทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบเข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์
หลังจากพญาเม็งรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ แม่น้ำปิง โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน


<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลักษณะทางศิลปกรรมและการกำหนดอายุ (สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม )
รายนามกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1835 - 2101)
1 พญามังรายมหาราช พ.ศ. 1835 - 1854 (19 ปี)
2 พญาไชยสงคราม พ.ศ. 1854 - 1868 (14 ปี)
3 พญาแสนภู พ.ศ. 1868 - 1877 (11 ปี)
4 พญาคำฟู พ.ศ. 1877 - 1879 (2 ปี)
5 พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี)
6 พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี)
7 พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี)
8 พญาสามฝั่งแกน พ.ศ. 1945 - 1984 (39 ปี)
9 พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี)
10 พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)
11 พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)
12 พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งที่ 1
13 ท้าวซายคำ พ.ศ. 2081 - 2086 (5 ปี)
พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2
14 พระนางจิรประภา พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)
15 พระไชยเชษฐา พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี)
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี)
16 พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107 (13 ปี) ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า



สรุป
- ภาพประกอบ









พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง ขณะทรงปรึกษาหารือการสร้างเมืองเชียงใหม่









วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในช่วงยุคทองของล้านนา องค์พระเจดีย์พังทลายลงมาด้วยแรงแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 อันเป็นลางบอกเหตุความแตกแยกในราชสำนักและความอ่อนแอของอาณาจักร


- บรรณานุกรม
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา. สำนักพิมพ์อมรินทร์.
Zinme Yazawin, Chronicle of Chaing Mai, University Historical Research Centre, Yango