วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ลัทธิชาตินิยม

ความเป็นมา ของลัทธิชาตินิยม


ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิการเมืองที่เน้นความจงรักภักดีต่อรัฐชาติ โดยถึงว่าชาติเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกย่ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหรือวัฒนธรรม ลัทธิชาตินิยมจึงมิได้เป็นเพียงรูปแบบทางการเมือง แต่เป็นอุดมคติในการดำเนินชีวิต
การเกิดรัฐชาติและความรู้สึกในเรื่องความเป็นชาติของคนในแต่ละสมัยแต่ละท้องถิ่น แม้จะมีลักษณะคล้ายลึงกันแต่ก็มีส่วนแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ การเมือง สังคม และประวัติศาสตร์ เมื่อพิจารณาลักษณะละเอียดแล้ว ชาตินิยมของแต่ละชาติจึงมีลักษณะต่างกัน
ลัทธิชาตินิยมเจริญขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕- ๑๗ เกิดจากกษัตริย์ต้องการพ้นจากอำนาจของศาสนจักรคาทอลิก และอิทธิพลของขุนนางในระบอบพี่วดัล นโยบายพาณอชยนิยม ชึ่งรัฐใช้นโยบายสนับสนุนการค้าภายนอกเป็นนโยบายระดับชาติ ช่วงเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจแก่กษัตริย์และชนชั้นกลาง ส่วนการสนับสนุนให้ใช้ภาษาประจำชาติแทนภาษาประจำชาติแทนภาษาละตินก็ทำให้วัฒธรรมของเชื้อชาติแต่ละเชื้อชาติเจริญขึ้น เนื้อหาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆก็หันกลับไปสู่กรีกและโรมันแทนวัฒนธรรมของคริสต์ศาสนา จึงอาจกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมในเบื้องต้นนี้เป็นลัทธิชาตินิยมของชนชั้นสูงคือกษัตริย์
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ ๑๙ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นการมาชีพ แนวความคิดแบบสังคมนิยมชึ่งเน้นความเสนอภาค ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาตินิยมในยุคนี้ ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียทำให้พวกสังคมนิยมมีกำลังใจในการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนระบบการเมืองใหม่ ความคิดได้แผ่เข้าไปในเอเซียและแอฟริกา โดยเฉพาะประเทศอาณานิคมการกู้ชาติกับการเป็นสังคมนิยมจึงมีความสัมพันธ์กัน และมีลักษณะเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพต่อผ่ายปกครอง โดยเฉพาะที่เป็นคนต่างชาติ เป็นการปฏิวัติของผ่ายซ้ายต่อผ่ายขวา ในช่วงนี้จึงกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมคติของชนชั้นกรรมาชีพ


ความหมาย ของลัทธิชาตินิยม
ชาตินิยม หรือคำว่า Nationalism หมายถึง อุดมการณ์ทางการเมืองประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ได้ให้ความหมายของชาตินิยม ว่าหมายถึง การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตนรวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ได้ถกเถียงกันมาเป็นเวลายาวนานและยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด ในประเด็นนี้รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะได้แบ่งแนวความคิดชาตินิยมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกมองว่าชาตินิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยใหม่ ซึ่งชาตินิยมหรือความรักชาตินั้นเป็นสิ่งที่มีมาควบคู่กับมนุษย์มาแต่โบราณ ส่วนอีกกลุ่มมองว่าชาตินิยมเป็นผลผลิตของกระบวนการสร้างชาติในยุคใหม่ ซึ่งความแตกต่างและความผูกพันต่อชาติแบบที่เรียกกันว่าชาตินิยมนั้น เป็นปรากฏการณ์ของสังคมสมัยใหม่ อันเป็นไปในแนวทางเดียวกับดร.ธีรยุทธ บุญมี
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะ และดร.ธีรยุทธ บุญมี เห็นตรงกันว่า ชาติและชาตินิยม เป็นผลผลิตของยุคสมัยใหม่ หรือความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) ที่จะเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ ความเหมือนกัน (Homogeneity) ความเป็นหนึ่งเดียว และความมาตรฐานเดียวกัน เช่น ภาษา วัฒนธรรม และประเพณี และอาจจะอธิบายขยายความต่อได้ว่า ชาตินิยมในสมัยใหม่ หมายถึง การใช้อำนาจทางการเมืองและทางทหารของกลุ่มชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ หรือเชิงศาสนา (ผู้เขียน)
ลักษณะ
ลักษณะของลัทธิชาตินิยมแบบนี้มีลักษณะยํ้าการดำ เนินนโยบายของชาติของตน
การดำ รงไว้ซึ่งบูรณภาพของชาติ การเพิ่มอำ นาจของชาติ ขณะเดียวกันเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของตน มีความพยายามที่จะรักษาและเพิ่มพูนความไพศาล ศักดิ์ศรีและผลประ-
โยชน์ของชาติตนไว มีการเน้นความสาํ คญั ของเชอื้ ชาติ เผ่าพันธุ์ของตน วา่ เหนอื เชอื้ ชาติหรือเผ่าพันธุ์อื่น ("สังคมโลก หน่วยที่1-7" ,2527 : 263 )
เป็นการนำแนวคิดเรื่องชาตินิยมมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง จะดำเนินการในลักษณะดังต่อไปนี้
1. สร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นในชาติ ทั้งในยามปกติและยามวิกฤต
2. สร้างเอกลักษณ์ของชาติเพื่อป้องกันการคุกคามจากต่างชาติ ในด้านต่าง ๆ
3. ควบคุมการขยายตัวของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ และรวมถึงชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมือง
4. สร้างกระแสการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการต่อต้านแนวคิดการค้าเสรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น