วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

ปราสาทนครวัด

ปราสาทนครวัดเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ฝรั่งต่างชาติต่างยอมรับในความสวยงาม เราจะเห็นได้ว่า 5 ใน 7 ของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกล้วนแต่อยู่ในประเทศฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา จะมีก็แต่เพียงปราสาทนครวัดและทัชมาฮาลเท่านั้นที่อยู่นอกประเทศทั้งสอง

ปราสาทนครวัด เป็นประสาทศิลาแลงขนาดใหญ่โตมโหฬาร ที่ตั้งอยู่ในประเทศกัมพูชา จัดเป็นปราสาทศิลาขนาดใหญ่ที่ยังคงอยู่ ตระหง่านท้ากาลเวลานานหลายร้อยปี ผู้ที่สร้างนครวัดขึ้นมาเป็นพระองค์แรกคือพระเจ้าสุริยะวรมัน ที่ 2 โดยพระองค์มีพระประสงค์ที่จะยกพระฐานของกษัตริย์กัมพูชาให้เทียบเท่ากับเทพเจ้า ปราสาทนครวัดแห่งนี้จึงเป็นที่สถิตของพระวิษณุ เทพเจ้าสำคัญพระองค์หนึ่งตามความเชื่อของชาวกัมพูชา และพระองค์ทรงใช้สถานที่แห่งนี้ในการเผาพระบรมศพของพระองค์

ต่อมาในยุคหลังกษัตริย์กัมพูชาองค์ต่อๆมา ได้ช่วยกันสานต่อเจตนาของบรรพบุรุษ มีการแต่งเติมและสิ่งก่อสร้างไปในแนวทางตามที่บรรพกษัตริย์ ในอดีตได้วางเอาไว้ ทำให้ชาวโลกมีโอกาสได้รับทราบถึงความเฉลียวฉลาดและความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกันของชาวกัมพูชา

ภายในบริเวณของตัวปราสาทจะรายล้อม

อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยในระด้บโลก

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองเก่าสุโขทัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒,๐๕๐ ไร่ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้ประกาศเขตเพิ่มเติมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๔๓,๗๕๐ ไร่ หรือประมาณ ๗๐ ตารางกิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒๘,๒๑๗ ไร่ หรือ ๔๕.๑๔ ตารางกิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ของไทยในระด้บโลก

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองเก่าสุโขทัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๐๒ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒,๐๕๐ ไร่ ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๑๘ ได้ประกาศเขตเพิ่มเติมเป็นเนื้อที่ทั้งสิ้น ๔๓,๗๕๐ ไร่ หรือประมาณ ๗๐ ตารางกิโลเมตร

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานเมืองศรีสัชนาลัย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ และต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ ได้ประกาศเขตโบราณสถานเนื้อที่ ๒๘,๒๑๗ ไร่ หรือ ๔๕.๑๔ ตารางกิโลเมตร

2011年8月2日 星期二

อยุทยา

อาณาจักรอยุธยาจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
"กรุงศรีอยุธยา" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับธนาคาร ดูที่ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา และระวังสับสนกับ อโยธยา

อาณาจักรอยุธยา

ราชอาณาจักร
พ.ศ. 1893–พ.ศ. 2310 →
สัญลักษณ์
ธงค้าขาย ตราแผ่นดิน
แผนที่แผนที่อาณาจักรอยุธยาประมาณ พ.ศ. 1953 (สีม่วงเข้ม)ข้อมูลทั่วไป[ซ่อน]เมืองหลวง กรุงศรีอยุธยา
พิษณุโลก (พ.ศ. 2006-2031) [1]
ลพบุรี[ต้องการอ้างอิง]
ภาษา ภาษาไทย
การปกครอง สมบูรณาญาสิทธิราชย์
พระมหากษัตริย์
- 1893 - 1952 ราชวงศ์อู่ทอง
- 1952 - 2112 ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
- 2112 - 2172 ราชวงศ์สุโขทัย
- 2172 - 2231 ราชวงศ์ปราสาททอง
- 2231 - 2310 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง

ยุคประวัติศาสตร์ ยุคกลาง และยุคเรอเนซองส์
- พ.ศ. 1893 สถาปนา
- พ.ศ. 2112 เสียกรุงครั้งที่หนึ่ง
- 7 เมษายน พ.ศ. 2310 เสียกรุงครั้งที่สอง
ปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของประเทศไทย

ก่อนหน้านี้ ต่อจากนี้
อาณาจักรละโว้
อาณาจักรเพชรบุรี
อาณาจักรนครศรีธรรมราช
อาณาจักรสุโขทัย
อาณาจักรธนบุรี
ประวัติศาสตร์ไทยยุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียง ประมาณ 2500 ก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ประมาณ 2000 ก่อน พ.ศ.
ยุคอาณาจักร
สุวรรณภูมิ
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3-5
โจฬะ
พุทธศตวรรษที่ 2-17
สุวรรณโคมคำ
พศว. 4-5
ทวารวดี-นครชัยศรี
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15
โยนกนาคพันธุ์
638-1088
คันธุลี
994-1202 เวียงปรึกษา
1090-1181
ศรีวิชัย
1202-1758 ละโว้
1191 -1470 หิรัญเงินยางฯ
1181 - 1805
หริภุญชัย
1206-1835
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470
สุพรรณภูมิ
ละโว้
ตามพรลิงค์
พริบพรี
นครศรีธรรมราช สุโขทัย
1792-1981 พะเยา
1190-2011 เชียงราย
1805-1835
ล้านนา
1835-2101
อยุธยา (1)
พ.ศ. 1893-2112
สค.ตะเบ็งชเวตี้
สค.ช้างเผือก
เสียกรุงครั้งที่ 1
พ.ศ. 2112 พิษณุโลก
2106-2112 ล้านนาของพม่า
2101-2317
กรุงศรีอยุธยา (2)
พ.ศ. 2112-2310
เสียกรุงครั้งที่ 2
สภาพจลาจล
กรุงธนบุรี
พ.ศ. 2310-2325 ล้านนาของสยาม
พ.ศ. 2317-2442
นครเชียงใหม่


กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
สงครามเก้าทัพ
อานามสยามยุทธ
การเสียดินแดน
มณฑลเทศาภิบาล
สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2

ยุครัฐประชาชาติ
ประเทศไทย
ปฏิวัติ พ.ศ. 2475
เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ สหรัฐไทยเดิม
พ.ศ. 2485-2489

จัดการ: แม่แบบ • พูดคุย • แก้ไข


อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ[2] อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ จนถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการค้าในระดับนานาชาติ[3] เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรขอม และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน
กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนบริเวณซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำป่าสักทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำลพบุรีทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่พระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศด้วย

ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

[แก้] ประวัติ[แก้] จุดเริ่มต้นชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร[5]

ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม) [6] และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712[7] ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[8] (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ. 1351) ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถาน[9] ประวัติศาสตร์บางแห่ง[ต้องการอ้างอิง]ระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยา

[แก้] การขยายดินแดนกรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร

[แก้] การล่มสลายของอาณาจักรดูเพิ่มที่ การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง
ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม

ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

[แก้] การกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2ครั้นต่อมา พระยาวชิรปราการได้รวบรวมชุมนุมทั้งหมดที่เมืองจันทร์ แล้วได้ขับไล่พม่า และสามารถกอบกู้เอกราชครั้งที่ 2 ได้สำเร็จในวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2310 จากนั้นในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2310 พระยาวชิรปราการได้ทำพิธีปราบดาภิเษกทำนองเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา (แต่นักประวัติศาสตร์นับเป็นสมัยธนบุรี) เฉลิมพระนามว่า "สมเด็จพระบรมราชาที่ 4" แต่ส่วนมากคนมักเรียกท่านว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขณะมีพระชนมายุได้ 33 พรรษา ก่อนจะย้ายราชธานีไปยังกรุงธนบุรีเป็นการชั่วคราว

[แก้] พระราชวงศ์ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ

1.ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
2.ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
3.ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
4.ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
5.ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์
ซึ่งรวมเป็นกษัตริย์รวม 34 (นับรวมขุนวรวงศาธิราช ) พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้

[แก้] พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยาลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ พระราชวงศ์
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) อู่ทอง
2 สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 - 1913 (1 ปี) อู่ทอง
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 1931 - 1938 (7 ปี) อู่ทอง
5 สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร) 1938 - 1952 (14 ปี) อู่ทอง
6 สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว) 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ ) 1967 - 1991 (24 ปี) สุพรรณภูมิ
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 - 2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12 พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 (5 เดือน) สุพรรณภูมิ
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14 พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
15 ขุนวรวงศาธิราช 2091 (42 วัน) -
16 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
17 สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
18 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ) 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
19 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
20 สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 - 2163 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
21 พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) 2163 - 2164 (1 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
22 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) [ต้องการอ้างอิง] 2164 - 2171 (7 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
23 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2171-2172 (2 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
24 พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2172 (36 วัน) สุโขทัย (พระร่วง)
25 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2172 - 2198 (26 ปี) ปราสาททอง
26 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2198-2199 (1 ปี) ปราสาททอง
27 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
28 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
29 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2251 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
31 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2251 - 2275 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
32 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
33 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
34 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

[แก้] การปกครองการจัดการปกครองในสมัยอยุธยาสามารถแบ่งออกได้เป็นสามช่วง คือ ช่วงก่อนการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (1839-1991) ช่วงสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจนถึงสมัยสมเด็จพระเพทราชา (1991-2231) และการปฏิรูปการปกครองของสมเด็จพระเพทราชาเป็นต้นไป (2231-2310)

[แก้] อยุธยาตอนต้น (1893-1991)มีการปกครองคล้ายคลึงกับในช่วงสุโขทัย ในราชธานี พระมหากษัตริย์มีสิทธิ์ปกครองโดยตรง หากก็ทรงใช้อำนาจผ่านข้าราชการและขุนนางเช่นกัน นอกจากนี้ยังมีระบบการปกครองภายในราชธานีที่เรียกว่า จตุสดมภ์ ตามการเรียกของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ[10] อันได้แก่ กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนา

การปกครองนอกราชธานี ประกอบด้วย เมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน เมืองพระยามหานคร และเมืองประเทศราช โดยมีรูปแบบกระจายอำนาจออกจากศูนย์กลางค่อนข้างมาก[11] เมืองหน้าด่าน ได้แก่ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี ตั้งอยู่รอบราชธานีทั้งสี่ทิศ ระยะเดินทางจากราชธานีสองวัน พระมหากษัตริย์ทรงส่งเชื้อพระวงศ์ที่ไว้วางพระทัยไปปกครอง หากก็นำมาซึ่งปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติอยู่บ่อยครั้ง เมืองชั้นในทรงปกครองโดยผู้รั้ง ถัดออกไปเป็นเมืองพระยามหานครหรือหัวเมืองชั้นนอก ปกครองโดยเจ้าเมืองที่สืบเชื้อสายมาแต่เดิม มีหน้าที่จ่ายภาษีและเกณฑ์ผู้คนในราชการสงคราม[11] และสุดท้ายคือเมืองประเทศราช พระมหากษัตริย์ปล่อยให้ปกครองกันเอง เพียงแต่ต้องส่งเครื่องบรรณาการมาให้ราชธานีทุกปี

[แก้] สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงพระเพทราชา (1991-2231)สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกระบบเมืองหน้าด่านเพื่อขจัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ และขยายอำนาจของราชธานีโดยการกลืนเมืองรอบข้างเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชธานี[12] สำหรับระบบจตุสดมภ์ ทรงแยกกิจการพลเรือนออกจากกิจการทหารอย่างชัดเจน ให้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสมุหนายกและสมุหกลาโหมตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนชื่อกรมและชื่อตำแหน่งเสนาบดี แต่ยังคงไว้ซึ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเดิม

ส่วนการปกครองส่วนภูมิภาคมีลักษณะเปลี่ยนไปในทางการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางให้มากที่สุด โดยให้เมืองชั้นนอกเข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจของราชธานี มีระบบการปกครองที่ลอกมาจากราชธานี[13] มีการลำดับความสำคัญของหัวเมืองออกเป็นชั้นเอก โท ตรี สำหรับหัวเมืองประเทศราชนั้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมากนัก หากแต่พระมหากษัตริย์จะมีวิธีการควบคุมความจงรักภักดีต่อราชธานีหลายวิธี เช่น การเรียกเจ้าเมืองประเทศราชมาปรึกษาราชการ หรือมาร่วมพระราชพิธีบรมราชาภิเษกหรือถวายพระเพลิงพระบรมศพในราชธานี การอภิเษกสมรสโดยการให้ส่งราชธิดามาเป็นสนม และการส่งข้าราชการไปปกครองเมืองใกล้เคียงกับเมืองประเทศราชเพื่อคอยส่งข่าว ซึ่งเมืองที่มีหน้าที่ดังกล่าว เช่น พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช[14]

[แก้] สมัยตั้งแต่พระเพทราชา (2231-2310)ในสมัยพระเพทราชา ทรงกระจายอำนาจทางทหารซึ่งเดิมขึ้นอยู่กับสมุหกลาโหมแต่ผู้เดียวออกเป็นสามส่วน โดยให้สมุหกลาโหมเปลี่ยนไปควบคุมกิจการทหารในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางใต้ ให้สมุหนายกควบคุมกิจการพลเรือนในราชธานี กิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองทางเหนือ และพระโกษาธิบดี ให้ดูแลกิจการทหารและพลเรือนของหัวเมืองตะวันออก ต่อมา สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (2275-2301) ทรงลดอำนาจของสมุหกลาโหมเหลือเพียงที่ปรึกษาราชการ และให้หัวเมืองทางใต้ไปขึ้นกับพระโกษาธิบดีด้วย[15]

นอกจากนี้ ในสมัยพระมหาธรรมราชา ยังได้จัดกำลังป้องกันราชธานีออกเป็นสามวัง ได้แก่ วังหลวง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางเหนือ วังหน้า มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันออก และวังหลัง มีหน้าที่ป้องกันพระนครทางตะวันตก ระบบดังกล่าวใช้มาจนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว[15]

[แก้] ประชากรศาสตร์
กลุ่มชาติพันธุ์ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 อาณาจักรอยุธยามีประชากรประมาณ 1,900,000 คน ซึ่งนับชายหญิงและเด็กอย่างครบถ้วน[16] แต่ลาลูแบร์กล่าวว่า ตังเลขดังกล่าวน่าจะไม่ถูกต้องเนื่องจากมีผู้หนีการเสียภาษีอากรไปอยู่ตามป่าตามดงอีกมาก[17] มีกลุ่มชาติพันธุ์หลักคือไทยสยาม ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได ซึ่งบรรพบุรุษของไทยสยามปรากฏหลักแหล่งของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาตระกูลไท-กะไดเก่าแก่ที่สุดอายุกว่า 3,000 ปี ซึ่งมีหลักแหล่งแถบกวางสี คาบเกี่ยวไปถึงกวางตุ้งและแถบลุ่มแม่น้ำดำ-แดงในเวียดนามตอนบน ซึ่งกลุ่มชนนี้มีความคลื่นไหวไปมากับดินแดนไทยในปัจจุบันทั้งทางบกและทางทะเลและมีการคลื่นไหวไปมาอย่างไม่ขาดสาย[18] ในยุคอาณาจักรทวารวดีในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงหลังปี พ.ศ. 1100 ก็มีประชากรตระกูลไทย-ลาว เป็นประชากรพื้นฐานรวมอยู่ด้วย[18] ซึ่งเป็นกลุ่มชนอพยพลงมาจากบริเวณสองฝั่งโขงลงทางลุ่มน้ำน่านแล้วลงสู่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาฟากตะวันตกแถบสุพรรณบุรี ราชบุรี ถึงเพชรบุรีและเกี่ยวข้องไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช[19] ซึ่งในส่วนนี้ลาลูแบร์ เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้บันทึกเกี่ยวกับชาวสยามว่า ชาวลาวกับชาวสยามเกือบจะเป็นชนชาติเดียวกัน[20]

เอกสารจีนที่บันทึกโดยหม่าฮวนได้กล่าวไว้ว่า ชาวเมืองพระนครศรีอยุธยาพูดจาด้วยภาษาอย่างเดียวกับกลุ่มชนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน[18] คือพวกที่อยู่ในมณฑลกวางตุ้งกับกวางสี และด้วยความที่ดินแดนแถบอุษาคเนย์เป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์จึงมีกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลายตั้งหลักแหล่งอยู่ปะปนกันจึงเกิดการประสมประสานทางเผ่าพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาจนไม่อาจแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน[21] และด้วยการผลักดันของรัฐละโว้ ทำให้เกิดรัฐอโยธยาศรีรามเทพนคร ภายหลังปี พ.ศ. 1700 ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมหลายอย่าง[21]

ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มอื่นๆ ได้อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร เชลยที่ถูกกวาดต้อน ตลอดจนถึงชาวเอเชียและชาวตะวันตกที่เข้ามาเพื่อการค้าขาย ในกฎมนเทียรบาลยุคต้นกรุงศรีอยุธยาได้เรียกชื่อชนพื้นเมืองต่างๆได้แก่ "แขกขอมลาวพม่าเมงมอญมสุมแสงจีนจามชวา..."[22] ซึ่งมีการเรียกชนพื้นเมืองที่อาศัยปะปนกันโดยไม่จำแนกว่า ชาวสยาม[22] ในจำนวนนี้มีชาวมอญอพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา, สมเด็จพระนเรศวรมหาราช, สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง, สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เนื่องจากชาวมอญไม่สามารถทนการบีบคั้นจากการปกครองของพม่าในช่วงราชวงศ์ตองอู จนในปี พ.ศ. 2295 พม่าได้ปราบชาวมอญอย่างรุนแรง จึงมีการลี้ภัยเข้ามาในกรุงศรีอยุธยาจำนวนมาก[23] โดยชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำ เช่น บ้านขมิ้นริมวัดขุนแสน ตำบลบ้านหลังวัดนก ตำบลสามโคก และวัดท่าหอย[24] ชาวเขมรอยู่วัดค้างคาว[25] ชาวพม่าอยู่ข้างวัดมณเฑียร[26] ส่วนชาวตังเกี๋ยและชาวโคชินไชน่า (ญวน) ก็มีหมู่บ้านเช่นกัน[27] เรียกว่าหมู่บ้านโคชินไชน่า[28] นอกจากนี้ชาวลาวก็มีจำนวนมากเช่นกัน โดยในรัชสมัยของสมเด็จพระราเมศวรครองราชย์ครั้งที่สอง ได้กวาดต้อนครัวลาวเชียงใหม่ส่งไปไว้ยังจังหวัดพัทลุง สงขลา นครศรีธรรมราช และจันทบุรี[29] และในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่ทรงยกทัพไปตีล้านนาในปี พ.ศ. 2204 ได้เมืองลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงแสน และได้กวาดต้อนมาจำนวนหนึ่ง[30]เป็นต้น โดยเหตุผลที่กวาดต้อนเข้ามา ก็เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านเศรษฐกิจและการทหาร[31] และนอกจากกลุ่มประชาชนแล้วกลุ่มเชื้อพระวงศ์ที่เป็นเชลยสงครามและผู้ที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร มีทั้งเชื้อพระวงศ์ลาว, เชื้อพระวงศ์เชียงใหม่ (Chiamay), เชื้อพระวงศ์พะโค (Banca), และเชื้อพระวงศ์กัมพูชา[32]

นอกจากชุมชนชาวเอเชียที่ถูกกวาดต้อนมาแล้วก็ยังมีชุมชนของกลุ่มผู้ค้าขายและผู้เผยแผ่ศาสนาทั้งชาวเอเชียจากส่วนอื่นและชาวตะวันตก เช่น ชุมชนชาวฝรั่งเศสที่บ้านปลาเห็ด[33] ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้นอกเกาะอยุธยาใกล้กับวัดพุทไธสวรรย์ ซึ่งภายหลังบ้านปลาเห็ตได้เปลี่ยนชื่อเป็นบ้านเซนต์โยเซฟ[34] หมู่บ้านญี่ปุ่นอยู่ริมแม่น้ำระหว่างหมู่บ้านชาวมอญและโรงกลั่นสุราของชาวจีน ถัดไปเป็นชุมชนชาวฮอลันดา[35] ทางใต้ของชุมชนฮอลันดาเป็นถิ่นพำนักของชาวอังกฤษ, มลายู และมอญจากพะโค[36] นอกจากนี้ก็ยังมีชุมชนของชาวอาหรับ เปอร์เซีย และกลิงก์ (คนจากแคว้นกลิงคราฎร์จากอินเดีย)[37] ส่วนชุมชนชาวโปรตุเกสตั้งอยู่ตรงข้ามชุมชนญี่ปุ่น ชาวโปรตุเกสส่วนใหญ่มักสมรสข้ามชาติพันธุ์กับชาวสยาม จีน และมอญ[38] ส่วนชุมชนชาวจาม มีหลักแหล่งแถบคลองตะเคียนทางใต้ของเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาเรียกว่า ปทาคูจาม มีบทบาทสำคัญด้านการค้าทางทะเล และตำแหน่งในกองทัพเรือ เรียกว่า อาษาจาม และเรียกตำแหน่งหัวหน้าว่า พระราชวังสัน[39]

ภาษาสำเนียงดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยามีความเชื่อมโยงกับชนพื้นเมืองตั้งแต่ลุ่มน้ำยมที่เมืองสุโขทัยลงมาทางลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกในแถบสุพรรณบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี ซึ่งสำเนียงดังกล่าวมีความใกล้ชิดกับสำเนียงหลวงพระบาง โดยเฉพาะสำเนียงเหน่อของสุพรรณบุรีมีความใกล้เคียงกับสำเนียงหลวงพระบาง[40] ซึ่งสำเนีงเหน่อดังกล่าวเป็นสำเนียงหลวงของกรุงศรีอยุธยา ประชาชนชาวกรุงศรีอยุธยาทั้งพระเจ้าแผ่นดินจนถึงไพร่ฟ้าราษฏรก็ล้วนตรัสและพูดจาในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันเป็นขนบอยู่ในการละเล่นโขนที่ต้องใช้สำเนียงเหน่อ โดยหากเปรียบเทียบกับสำเนียงกรุงเทพฯในปัจจุบันนี้ ที่ในสมัยนั้นถือว่าเป็นสำเนียงบ้านนอกถิ่นเล็กๆของราชธานีที่แปร่งและเยื้องจากสำเนียงมาตรฐานของกรุงศรีอยุธยา[41] และถือว่าผิดขนบ[40]

ภาษาดั้งเดิมของกรุงศรีอยุธยาปรากฏอยู่ในโองการแช่งน้ำ ซึ่งเป็นร้อยกรองที่เต็มไปด้วยฉันทลักษณ์ที่แพร่หลายแถบแว่นแคว้นสองฝั่งลุ่มแม่น้ำโขงมาแต่ดึกดำบรรพ์[42] และภายหลังได้พากันเรียกว่า โคลงมณฑกคติ เนื่องจากเข้าใจว่าได้รับแบบแผนมาจากอินเดีย[42] ซึ่งแท้จริงคือโคลงลาว หรือ โคลงห้า ที่เป็นต้นแบบของโคลงดั้นและโคลงสี่สุภาพ[40] โดยในโองการแช่งน้ำเต็มไปด้วยศัพท์แสงพื้นเมืองของไทย-ลาว ส่วนคำที่มาจากบาลี-สันสกฤต และเขมรอยู่น้อย[40] โดยหากอ่านเปรียบเทียบก็จะพบว่าสำนวนภาษาใกล้เคียงกับข้อความในจารึกสมัยสุโขทัย และพงศาวดารล้านช้าง[40]

ด้วยเหตุที่กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ใกล้ทะเลและเป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติทำให้สังคมและวัฒนธรรมเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ต่างกับบ้านเมืองแถบสองฝั่งโขงที่ห่างทะเลเป็นเหตุที่ทำให้มีลักษณะที่ล้าหลังจึงสืบทอดสำเนียงและระบบความเชื่อแบบดั้งเดิมไว้ได้เกือบทั้งหมด[41] ส่วนภาษาในกรุงศรีอยุธยาก็ได้รับอิทธิพลของภาษาจากต่างประเทศจึงรับคำในภาษาต่างๆมาใช้ เช่นคำว่า กุหลาบ ที่ยืมมาจากคำว่า กุล้อบ ในภาษาเปอร์เซีย ที่มีความหมายเดิมว่า น้ำดอกไม้[43] และยืมคำว่า ปาดรื (Padre) จากภาษาโปรตุเกส แล้วออกเสียงเรียกเป็น บาทหลวง[44] เป็นต้น

[แก้] ระบบไพร่ดูเพิ่มที่ ไพร่
อาณาจักรอยุธยามีการใช้ระบบไพร่อันเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยสุโขทัย[45] โดยกำหนดให้ชายทุกคนที่สูงตั้งแต่ 1.25 เมตรขึ้นไปต้องลงทะเบียนไพร่[45] ไพร่จะต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายเดือนเว้นเดือน โดยไม่มีค่าตอบแทนหรือเสบียงอาหารใด ๆ

ระบบไพร่มีความสำคัญต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เพราะหากมีการเบียดบังไพร่โดยเจ้านายหรือขุนนางไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราชบัลลังก์ได้ ตลอดจนส่งผลให้กำลังในการป้องกันอาณาจักรก็จะอ่อนแอ ไม่เป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ ระบบไพร่ยังเป็นการเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานชีวิตและความมั่นคงของอาณาจักร[46]

[แก้] ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ
อาณาจักรอยุธยามักส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีนเป็นประจำทุกสามปี เครื่องบรรณาการนี้เรียกว่า "จิ้มก้อง" นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าการส่งเครื่องราชบรรณาการดังกล่าวแฝงจุดประสงค์ทางธุรกิจไว้ด้วย คือ เมื่ออาณาจักรอยุธยาได้ส่งเครื่องราชบรรณาการไปถวายแล้วก็จะได้เครื่องราชบรรณาการกลับมาเป็นมูลค่าสองเท่า[47] ทั้งยังเป็นธุรกิจที่ไม่มีความเสี่ยง จึงมักจะมีขุนนางและพ่อค้าเดินทางไปพร้อมกับการนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายด้วย

อาณาจักรอยุธยามีความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกในด้านการค้าขายและการเผยแผ่ศาสนา โดยชาวตะวันตกได้นำเอาวิทยาการใหม่ ๆ เข้ามาด้วย ต่อมา คอนสแตนติน ฟอลคอนได้เข้ามามีอิทธิพลและยังมีหลักฐานว่าคบคิดกับฝรั่งเศสจะยึดครองกรุงศรีอยุธยา[47] บรรดาขุนนางจึงประหารฟอลคอนเสีย และลดระดับความสำคัญกับชาติตะวันตกตลอดช่วงเวลาที่เหลือของอาณาจักรอยุธยา

[แก้] อ้างอิง
1.^ ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 305.
2.^ ดนัย ไชยโยค. (2550). ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคอาณาจักรอยุธยา. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 8.
3.^ ชนิดา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2542). ท่องเที่ยวไทย. บริษัท สำนักพิมพ์หน้าต่างสู่โลกกว้าง จำกัด. ISBN 974-86261-9-9. หน้า 40.
4.^ Hooker, Virginia Matheson (2003). A Short History of Malaysia: Linking East and West. St Leonards, New South Wales, Australia: Allen and Unwin. pp. 72. ISBN 1864489553. http://books.google.com/books?id=6F7xthSLFNEC&pg=PA72&lpg=PA72&dq=Ayutthaya++malay&source=bl&ots=IWjog_W6PG&sig=NKxfDLm13dLnJ6Si72q-F744g5A&hl=en&ei=u7lQSsrsDou4M-2T8e0D&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=6. Retrieved 2009-07-05.
5.^ พระบริหารเทพธานี. (2541). ประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 67.
6.^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545). บรรพบุรุษไทย: สมัยอยุธยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 2.
7.^ ลำจุล ฮวบเจริญ, เกร็ดพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 3, พ.ศ. 2548, หน้า 2
8.^ เรื่องของไทยในอดีต
9.^ พระบริหารเทพฑานี. (2541). ประวัติชาติไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 71.
10.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 5.
11.^ 11.0 11.1 โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 6.
12.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 7.
13.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 9.
14.^ โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 10.
15.^ 15.0 15.1 โกวิท วงศ์สุรวัฒน์. หน้า 11.
16.^ มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์, เล่มที่ 1, แปล สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2510,หน้า 46
17.^ มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์,หน้า 47
18.^ 18.0 18.1 18.2 สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน? หน้า 128
19.^ สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 130
20.^ มร.เดอะ ลาลูแบรฺ. จดหมายเหตุลาลูแบรฺฉบับสมบูรณ์,หน้า 45
21.^ 21.0 21.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ. อักษรไทยมาจากไหน?. หน้า 129
22.^ 22.0 22.1 สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน?. หน้า 188
23.^ สุภรณ์ โอเจริญ. ชาวมอญในประเทศไทย:วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2519), หน้า 48-68
24.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด).พระนคร:คลังวิทยา, 2507, หน้า 145 และ 403
25.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), หน้า 446
26.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), หน้า 463
27.^ นิโกลาส์ แชรแวส. ประวัติศาสตร์ธรรมชาติและการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม(ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช), แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร. พระนคร:ก้าวหน้า, 2506, หน้า 62
28.^ ประชุมพงศาวดารภาคที่ 36 ฉบับหอสมุดแห่งชาติ, เล่ม 9. พระนคร:ก้าวหน้า, 2507, หน้า 150
29.^ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันทานุมาศ(เจิม)กับพระจักรพรรดิพงศ์(จาด), หน้า 507-508
30.^ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. ไทยรบพม่า. พระนคร:คลังวิทยา, 2514. หน้า 235-237
31.^ บังอร

วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554

ลัทธิชาตินิยม

ความเป็นมา ของลัทธิชาตินิยม


ลัทธิชาตินิยมเป็นลัทธิการเมืองที่เน้นความจงรักภักดีต่อรัฐชาติ โดยถึงว่าชาติเป็นที่มาของทุกสิ่งทุกย่ง ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมหรือวัฒนธรรม ลัทธิชาตินิยมจึงมิได้เป็นเพียงรูปแบบทางการเมือง แต่เป็นอุดมคติในการดำเนินชีวิต
การเกิดรัฐชาติและความรู้สึกในเรื่องความเป็นชาติของคนในแต่ละสมัยแต่ละท้องถิ่น แม้จะมีลักษณะคล้ายลึงกันแต่ก็มีส่วนแตกต่างกันไปตามสภาพของภูมิศาสตร์ การเมือง สังคม และประวัติศาสตร์ เมื่อพิจารณาลักษณะละเอียดแล้ว ชาตินิยมของแต่ละชาติจึงมีลักษณะต่างกัน
ลัทธิชาตินิยมเจริญขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๕- ๑๗ เกิดจากกษัตริย์ต้องการพ้นจากอำนาจของศาสนจักรคาทอลิก และอิทธิพลของขุนนางในระบอบพี่วดัล นโยบายพาณอชยนิยม ชึ่งรัฐใช้นโยบายสนับสนุนการค้าภายนอกเป็นนโยบายระดับชาติ ช่วงเพิ่มอำนาจทางเศรษฐกิจแก่กษัตริย์และชนชั้นกลาง ส่วนการสนับสนุนให้ใช้ภาษาประจำชาติแทนภาษาประจำชาติแทนภาษาละตินก็ทำให้วัฒธรรมของเชื้อชาติแต่ละเชื้อชาติเจริญขึ้น เนื้อหาทางวัฒนธรรมด้านต่างๆก็หันกลับไปสู่กรีกและโรมันแทนวัฒนธรรมของคริสต์ศาสนา จึงอาจกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมในเบื้องต้นนี้เป็นลัทธิชาตินิยมของชนชั้นสูงคือกษัตริย์
การปฏิวัติอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ ๑๙ ก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างชนชั้นนายทุนกับชนชั้นการมาชีพ แนวความคิดแบบสังคมนิยมชึ่งเน้นความเสนอภาค ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชาตินิยมในยุคนี้ ชัยชนะของคอมมิวนิสต์ในรัสเซียทำให้พวกสังคมนิยมมีกำลังใจในการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนระบบการเมืองใหม่ ความคิดได้แผ่เข้าไปในเอเซียและแอฟริกา โดยเฉพาะประเทศอาณานิคมการกู้ชาติกับการเป็นสังคมนิยมจึงมีความสัมพันธ์กัน และมีลักษณะเป็นการต่อสู้ของชนชั้นกรรมาชีพต่อผ่ายปกครอง โดยเฉพาะที่เป็นคนต่างชาติ เป็นการปฏิวัติของผ่ายซ้ายต่อผ่ายขวา ในช่วงนี้จึงกล่าวได้ว่าลัทธิชาตินิยมเป็นอุดมคติของชนชั้นกรรมาชีพ


ความหมาย ของลัทธิชาตินิยม
ชาตินิยม หรือคำว่า Nationalism หมายถึง อุดมการณ์ทางการเมืองประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ได้ให้ความหมายของชาตินิยม ว่าหมายถึง การถือมั่นพึงพอใจในอัตลักษณ์หรือตัวตนรวมหมู่ (collective identity) ชนิดหนึ่ง นักวิชาการทางรัฐศาสตร์ได้ถกเถียงกันมาเป็นเวลายาวนานและยังหาข้อยุติไม่ได้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด ในประเด็นนี้รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะได้แบ่งแนวความคิดชาตินิยมออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแรกมองว่าชาตินิยมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ก่อนสมัยใหม่ ซึ่งชาตินิยมหรือความรักชาตินั้นเป็นสิ่งที่มีมาควบคู่กับมนุษย์มาแต่โบราณ ส่วนอีกกลุ่มมองว่าชาตินิยมเป็นผลผลิตของกระบวนการสร้างชาติในยุคใหม่ ซึ่งความแตกต่างและความผูกพันต่อชาติแบบที่เรียกกันว่าชาตินิยมนั้น เป็นปรากฏการณ์ของสังคมสมัยใหม่ อันเป็นไปในแนวทางเดียวกับดร.ธีรยุทธ บุญมี
รองศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ วันทะนะ และดร.ธีรยุทธ บุญมี เห็นตรงกันว่า ชาติและชาตินิยม เป็นผลผลิตของยุคสมัยใหม่ หรือความเป็นสมัยใหม่ (Modernity) ที่จะเป็นเครื่องมือที่นำไปสู่ ความเหมือนกัน (Homogeneity) ความเป็นหนึ่งเดียว และความมาตรฐานเดียวกัน เช่น ภาษา วัฒนธรรม และประเพณี และอาจจะอธิบายขยายความต่อได้ว่า ชาตินิยมในสมัยใหม่ หมายถึง การใช้อำนาจทางการเมืองและทางทหารของกลุ่มชาตินิยมเชิงชาติพันธุ์ หรือเชิงศาสนา (ผู้เขียน)
ลักษณะ
ลักษณะของลัทธิชาตินิยมแบบนี้มีลักษณะยํ้าการดำ เนินนโยบายของชาติของตน
การดำ รงไว้ซึ่งบูรณภาพของชาติ การเพิ่มอำ นาจของชาติ ขณะเดียวกันเน้นความยิ่งใหญ่ของอารยธรรมของตน มีความพยายามที่จะรักษาและเพิ่มพูนความไพศาล ศักดิ์ศรีและผลประ-
โยชน์ของชาติตนไว มีการเน้นความสาํ คญั ของเชอื้ ชาติ เผ่าพันธุ์ของตน วา่ เหนอื เชอื้ ชาติหรือเผ่าพันธุ์อื่น ("สังคมโลก หน่วยที่1-7" ,2527 : 263 )
เป็นการนำแนวคิดเรื่องชาตินิยมมาเป็นเครื่องมือทางการเมือง จะดำเนินการในลักษณะดังต่อไปนี้
1. สร้างความเป็นเอกภาพให้เกิดขึ้นในชาติ ทั้งในยามปกติและยามวิกฤต
2. สร้างเอกลักษณ์ของชาติเพื่อป้องกันการคุกคามจากต่างชาติ ในด้านต่าง ๆ
3. ควบคุมการขยายตัวของชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศ และรวมถึงชาวต่างชาติที่หลบหนีเข้าเมือง
4. สร้างกระแสการปกป้องผลประโยชน์ของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ ด้วยการต่อต้านแนวคิดการค้าเสรี

Chinese Poster




Poster เขียนว่า ครูสอนพิเศษที่ยิ่งใหญ่ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดที่ยิ่งใหญ่
ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ นายท้ายที่ยิ่งใหญ่
ประธานเหมาอายุยาวนาน อายุยาวนาน อายุยาวๆนาน
มหาวิทยลัยฝึกหัดครูปักกิ่งทหารแดงกลุ่มเลขที่ 4 ปี ค.ศ1967







รูปภาพนี้มีทหารถือหนังสือเชื่อว่า
การบริการเพื่อประชาชน
การระลึกหมอปายเหฉียวอืน
ตาโง่ขย้ายเขา
-- โดยเหมาเฉอตอง
ภูมิหลัง
ปฏิวัติวัฒนธรรมคือ ปี ค.ศ 1966 ถึง1976 โดยประธานเหมาออกคำสั่งและเป็นผู้นำที่กิจกรรมการเมืองอยู่ที่จีน

แหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจสมัยล้านนา

อาณาจักรล้านนา


-ที่ตั้ง อยู่บริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย


-ภูมิประเทศ สิบสองปันนาเชนเมืองเชียงรุ่ง (จิ่งหง) มณฑลยูนนาน ภาคตะวันออกของพม่า ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ซึ่งมีเมืองเชียงตุงเป็นเมืองเอก ฝั่งตะวันตกแม่นำสาละวิน มีเมืองนายเป็นเมืองเอก และ 8 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน ดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษา ตัวหนังสือ วัฒนธรรม และประเพณีเป็นของตนเอง


-ประวัดแหล่งท่องเที่ยว


พญามังรายพ่อขุนรามคำแหงพญางำเมืองพญามังราย หรือ เม็งราย กษัตริย์แห่งหิรัญนครเงินยาง องค์ที่ 25 ในราชวงศ์ลวจังกราชปู่เจ้าลาวจก ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำกก แม่น้ำอิง และแม่น้ำปิงตอนบน รวบรวมเมืองต่างๆให้เป็นปึกแผ่น นอกจากเงินยางแล้ว ยังมีเมืองพะเยาของพญางำเมืองพระสหาย ซึ่งพญาเม็งรายไม่ประสงค์จะได้เมืองพะเยาด้วยการสงคราม แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรีแทน หลังจากขยายอำนาจระยะหนึ่ง พระองค์ทรงย้ายศูนย์กลางการปกครอง โดยสร้างเมืองเชียงรายขึ้นแทนเมืองเงินยาง เนื่องด้วยเชียงรายตั้งอยู่ริมแม่น้ำกกเหมาะเป็นชัยสมรภูมิ ตลอดจนทำการเกษตรและการค้าขาย








หลังจากได้ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาอยู่ที่เมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ก็ได้ขยายอาณาจักรแผ่อิทธิพลลงทางมาทางทิศใต้ ขณะนั้นก็ได้มีอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองมาก่อนอยู่แล้วคือ อาณาจักรหริภุญชัย มีนครลำพูนเป็นเมืองหลวงตั้งอยู่ในชัยสมรภูมิที่เหมาะสมประกอบด้วยมีแม่น้ำสองสายไหลผ่านได้แก่แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิงซึ่งเป็นลำน้ำสายใหญ่ไหลลงสู่ทะเลเหมาะแก่การค้าขาย มีนครลำปางเป็นเมืองหน้าด่านคอยป้องกันศึกศัตรู สองเมืองนี้เป็นเมืองใหญ่มีกษัตริย์ปกครองอย่างเข้มแข็ง การที่จะเป็นใหญ่ในดินแดนแถบนี้ได้จะต้องตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ พระองค์ได้รวบรวมกำลังผู้คนจากที่ได้จากตีเมืองเล็กเมืองน้อยรวมกันเข้าเป็นทัพใหญ่และยกลงใต้เพื่อจะตีอาณาจักรหริภุญชัยให้ได้ โดยเริ่มจากตีเมืองเขลางค์นคร นครลำปางเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัยก่อน เมื่อได้เมืองลำปางแล้วก็ยกทัพเข้าตีนครลำพูน (แคว้นหริภุญชัย) พระองค์เป็นกษัตริย์ชาตินักรบมีความสามารถในการรบไปทั่วทุกสารทิศ สามารถทำศึกเอาชนะเมืองเล็กเมืองน้อยแม้กระทั่งอาณาจักรหริภุญชัยแล้วรวบเข้ากับอาณาจักรโยนกเชียงแสนได้อย่างสมบูรณ์
หลังจากพญาเม็งรายรวบรวมอาณาจักรหริภุญชัยเข้ากับโยนกเชียงแสนเสร็จสิ้นแล้ว ได้ขนามนามราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ว่า "อาณาจักรล้านนา" พระองค์มีดำริจะสร้างราชธานีแห่งใหม่นี้ให้ใหญ่โตเพื่อให้สมกับเป็นศูนย์กลางการปกครองแห่งอาณาจักรล้านนาทั้งหมด พร้อมกันนั้นก็ ได้อัญเชิญพระสหายสนิทร่วมน้ำสาบานสองพระองค์ได้แก่ พญางำเมืองแห่งเมืองพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาราชธานีแห่งใหม่ในสมรภูมิบริเวณที่ลุ่มริมฝั่งมหานทีแม่ระมิงค์ แม่น้ำปิง โดยตั้งชื่อราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างราชธานีชั่วคราวขึ้นก่อนแล้ว ซึ่งก็เรียกว่า เวียงกุมกามแต่เนื่องจากเวียงกุมกามประสบภัยธรรมชาติใหญ่หลวงเกิดน้ำท่วมเมืองจนกลายเป็นเมืองบาดาล ดังนั้นพระองค์จึงได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ นครเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 1839 และได้เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนานับแต่นั้น นครเชียงใหม่มีอาณาบริเวณอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที) นับเป็นสมรภูมิที่ดีและเหมาะแก่การเพาะปลูกเนื่องจากเป็นบริเวณที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน


<!--[if !supportLists]-->- <!--[endif]-->ลักษณะทางศิลปกรรมและการกำหนดอายุ (สถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม )
รายนามกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา (พ.ศ. 1835 - 2101)
1 พญามังรายมหาราช พ.ศ. 1835 - 1854 (19 ปี)
2 พญาไชยสงคราม พ.ศ. 1854 - 1868 (14 ปี)
3 พญาแสนภู พ.ศ. 1868 - 1877 (11 ปี)
4 พญาคำฟู พ.ศ. 1877 - 1879 (2 ปี)
5 พญาผายู พ.ศ. 1879 - 1898 (19 ปี)
6 พญากือนา พ.ศ. 1898 - 1928 (30 ปี)
7 พญาแสนเมืองมา พ.ศ. 1928 - 1944 (16 ปี)
8 พญาสามฝั่งแกน พ.ศ. 1945 - 1984 (39 ปี)
9 พระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1984 - 2030 (46 ปี)
10 พญายอดเชียงราย พ.ศ. 2030 - 2038 (8 ปี)
11 พญาแก้ว (พระเมืองแก้ว) พ.ศ. 2038 - 2068 (30 ปี)
12 พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งที่ 1
13 ท้าวซายคำ พ.ศ. 2081 - 2086 (5 ปี)
พญาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) พ.ศ. 2086 - 2088 (2 ปี) ครั้งที่ 2
14 พระนางจิรประภา พ.ศ. 2088 - 2089 (1 ปี)
15 พระไชยเชษฐา พ.ศ. 2089 - 2090 (1 ปี)
ว่างกษัตริย์ พ.ศ. 2090 - 2094 (4 ปี)
16 พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเม่กุ) พ.ศ. 2094 - 2107 (13 ปี) ตั้งแต่ พ.ศ. 2101 ปกครองภายใต้อำนาจพม่า



สรุป
- ภาพประกอบ









พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) และพญางำเมือง ขณะทรงปรึกษาหารือการสร้างเมืองเชียงใหม่









วัดเจดีย์หลวง สร้างขึ้นในช่วงยุคทองของล้านนา องค์พระเจดีย์พังทลายลงมาด้วยแรงแผ่นดินไหวเมื่อปี พ.ศ. 2088 อันเป็นลางบอกเหตุความแตกแยกในราชสำนักและความอ่อนแอของอาณาจักร


- บรรณานุกรม
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา. สำนักพิมพ์อมรินทร์.
Zinme Yazawin, Chronicle of Chaing Mai, University Historical Research Centre, Yango

วันอังคารที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ปฐมกษัตริยราชวงศ์พระร่วงได้สถาปนาอาณาจักรสุโขทัย อันมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีขึ้น เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๐๐ และได้สืบสันตติวงศ์ต่อมาอีก ๕ พระองค์ คือ พ่อขุนบาลเมือง พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พญาเลอไทย พญาลิไทย พญาไสลือไทย จนถึงปี พ.ศ. ๑๙๒๑ จากนั้นกรุงสุโขทัยก็ตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรศรีอยุธยา กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงอีก ๒ พระองค์ จึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าเมืองขึ้น
ภายในเมืองสุโขทัยประกอบด้วยส่วนที่เป็นพระราชวัง และศาสนสถานที่สำคัญ ๆ มีคูเมืองและกำแพงเมืองล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส นอกกำแพงเมืองออกไปโดยรอบทั้งสี่ด้าน มีโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่อีกเป็นจำนวนมาก รวมพื้นที่ที่ครอบคลุมโบราณสถานของเมืองสุโขทัยทั้งหมด มีประมาณ ๔๐,๐๐๐ ไร่
บรรดาศิลปกรรมและสถาบัตยกรรมอันงามสง่าของเมืองสุโขทัย แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งด้านวัตถุและด้านจิตใจ อย่างไม่มีอาณาจักรใดในสุวรรณภูมิในยุคนั้นมาเทียบเทียมได้ นับเป็นมรดกอันล้ำค่าของไทยที่มีค่าควรแก่ความภาคภูมิใจของชาวไทยและแก่มนุษยชาติ องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตระหนักถึงคุณค่าดังกล่าว จึงได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็น "มรดกโลก" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงอาราธนา พระภิกษุสงฆ์จากนครศรีธรรมราชเข้ามาจำพรรษา ณ กรุงสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ ในอาณาจักรสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระมหาธาตุเจดีย์ เป็นประธานของพุทธสถาน ด้านหน้ามีวิหารโถง สร้างติดกันไว้เรียกว่าวิหารหลวง ลักษณะทางสถาบัตยกรรมของยุคนี้คือ รูปแบบของเจดีย์จะมียอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมืองเก่า รุ่นราวคราวเดียวกับกรุงสุโขทัย มีศักดิ์เป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำยมตรงแก่งหลวง เดิมชื่อเมืองชะเลียง ซึ่งอยู่ใต้เมืองศรีสัชนาลัยลงไปเล็กน้อย บริเวณที่ตั้งวัดมหาธาตุในปัจจุบัน ชื่อเมืองชะเลียงนี้ ปรากฎครั้งแรกในศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแห่งมหาราชเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๕ สันนิษฐานว่าเมืองชะเลียงนี้มีอายุอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ต่อมาในพุทธศตวรรษที่ ๑๙ จึงได้มาสร้างเมืองศรีสัชนาลัย ณ บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน ในศิลาจารึกมักจะเรียกรวมกันว่าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย
เมืองศรีสัชนาลัยเสื่อมลงประมาณปี พ.ศ. ๑๙๔๖ ครั้นล่วงมาถึงปี พ.ศ. ๒๐๑๗ ชื่อเมืองนี้ก็ได้หายไปจากพงศาวดาร และในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เรียกเมืองนี้ว่าสวรรคโลก
เมืองศรีสัชนาลัยเป็นเมือง ๓ ชั้น มีกำแพงล้อมรอบ ชั้นในสุดก่อด้วยศิลาแลง กำแพงชั้นกลางและชั้นนอกเป็นกำแพงดิน บรรดาโบราณสถานต่าง ๆ ตั้งอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในกำแพงเมืองและนอกกำแพงเมือง
วัดพระศรีมหาธาตุ
วัดนี้ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระปรางค์ เนื่องจากมีพระปรางค์องค์ใหญ่สร้างด้วยศิลาแลง มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของตัวเมืองเก่าศรีสัชนาลัย
วัดช้างล้อม
เป็นวัดใหญ่และสำคัญของเมืองศรีสัชนาลัย มีเจดีย์ทรงลังกาองค์ใหญ่เป็นหลักของวัด ที่ฐานเจดีย์มีช้างปูนปั้นประดับรายล้อมอยู่โดยรอบมีทั้งหมด ๓๙ เชือก สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงสร้างวัดนี้
วัดเจดีย์เจ็ดแถว
อยู่ตรงข้ามกับวัดช้างล้อม นับเป็นวัดใหญ่อีกวัดหนึ่งของเมืองศรีสัชนาลัย มีกำแพงศิลาแลงล้อมอยู่โดยรอบ มีพระเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ตั้งอยู่บริเวณกลางวัด รอบเจดีย์องค์นี้มีเจดีย์ใหญ่น้อยประดับซุ้มพระแบบต่าง ๆ อีก ๓๓ องค์ เป็นภาพที่น่าชมอย่างยิ่ง

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

คนไทยมาจากไหน?

 ความจริงข้อหนึ่งที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ทุกคนรู้ดีก็คือว่าเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นหรือประวัติศาสตร์ที่ไม่ไกลตัวจนเกินไปนักย่อมอยู่ในความทรงจำหรือทำการศึกษาได้ง่ายกว่าเรื่องราวที่ไกลตัวออกไป ยิ่งเป็นเรื่องที่ไกลขนาดร้อย ๆ พัน ๆ ปีขึ้นไปด้วยแล้วยิ่งลำบาก สาเหตุก็เพราะจำกัดในหลักฐานสำหรับค้นคว้ายืนยันความจริงนั่นเอง

ปัจจุบันถ้ามีคนถามเราว่า “คนไทยมาจากไหน” เราคงจะตอบไม่ได้ง่าย ๆ เมื่อก่อนถ้ามีผู้มาถามเราเช่นนี้ เราก็คงตอบไปว่า “มาจากภูเขาอัลไต” หรือ "มาจากมณฑลเสฉวน บริเวณตรงกลางของประเทศจีน” แต่ปัจจุบัน การศึกษาคนคว้าในเรื่องนี้มีมากขึ้น ทำให้ข้อสันนิษฐานที่แตกต่างไปจากเดิมมีมากขึ้นด้วย

ขณะนี้ไม่มีนักประติศาสตร์ท่านใดสามารถสรุปได้ว่าชนชาติไทยมาจากไหนกันแน่ แต่เท่าที่ค้นคว้ากันมา มีความเชื่อต่าง ๆ กันดังนี้

๑. เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณมณฑลเสฉวน ตรงลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียงในตอนกลางของประเทศจีนปัจจุบัน แล้วค่อยอพยพมาทางตอนใต้ของจีน จากนั้นก็ลงมาสู่แหลมอินโดจีน ผู้เสนอความคิดนี้เป็นคนแรกก็คือ Terrien de la Couperie เขาเสนอผลงานเรื่อง The Cradle of the Shan Race (2428) คนไทยที่เชื่อตามทฤษฎีนี้มีหลายคน เช่น สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ หลวงวิจิตรวาทการ และรอง ศยามานนท์ เป็นต้น

๒. เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณเทือกเขาอัลไต หมอสอนศาสนาชาวอเมริกันเป็นผู้เสนอความคิดนี้ เขาคือ William Clifton Dodd งานเขียนเรื่อง The Tai Race : The Eider Brother of the Chinese (2452) เป็นที่สนใจของนักประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง และมีอิทธิพลต่องานของ W.A.R. Wood ในเรื่อง A History of Siam และขุนวิจิตรมาตรา ในเรื่อง “หลักไทย”

๓. เดิมคนไทยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในบริเวณทางตอนใต้ของจีนและทางตอนเหนือของภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตลอดจนบริเวณแคว้นอัสสัมในอินเดีย ผู้ที่เสนอความคิดนี้ก็คือ ArchibaI R. Colguhoun เขาเป็นชาวอังกฤษ เดินทางสำรวจดินแดนตั้งแต่ทางภาคใต้ของจีนจากกวางตุ้งเข้าไปในพม่า จากนั้นเขาก็เขียนหนังสือเรื่อง Chryse (2428) ต่อมาความคิดนี้ได้รับความสนใจนำไปค้นคว้าต่อ คนสำคัญที่นำความคิดนี้ไปขยายต่อก็มีเช่น E.H. Parker เขาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องน่านเจ้าพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) ผู้เขียนพงศาวดารโยนกก็เชื่อว่า คนไทยมาจากทางตอนใต้ของจีน นอกจากนี้ยังมีคนอื่น ๆ เช่น G. Coedes W. Credner W. Eberhard F. Mote ม.จ. สุภัทรดิศ ดิศกุล ขจร สุขพานิช และจิตร ภูมิศักดิ์ ฯลฯ เมื่อไม่นานมานี้ก็มีคนทำวิทยานิพนธ์ปริณญาเอกทางด้านประวัติศาสตร์ศิลปะที่ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องการอพยพของชนชาติไทย เขาคือ H.W. Woodward นักประวัติศาสตร์ผู้นี้เชื่อว่าแนวทางอพยพของคนไทยอาจมาทางลาวและลุ่มแม่น้ำป่าสักลงสู่ภาคกลางของประเทศไทย

๔. คนไทยไม่ได้มาจากไหน แต่ถิ่นเดิมของคนไทยก็คือบริเวณพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบัน นักวิชาการที่เสนอความคิดนี้ก็คือ PauI Benedict นักภาษาศาสตร์และมานุษยวิทยาชาวอเมริกัน เขาค้นคว้าเรื่องชนชาติไทยโดยใช้หลักฐานด้านภาษาศาสตร์ จากการค้นคว้าทำให้เขาเชื่อว่าภาษาไทยเป็นภาษาใหญ่ของชนชาติเอเชีย อยู่ในตระกูลออสตริก หรือออสโตรนีเซียน แยกสาขาเป็นพวกไทย ชวา-มลายู และทิเบต-พม่า ดังนั้นเผ่าพันธุ์ของคนไทยจึงไม่น่าจะเป็นพวกมองโกล แต่น่าจะเป็นพวกชวา-มลายู ประมาณ ๔,๐๐๐-๓,๕๐๐ ปี การรุกรานของพวกมอญ เขมร จากอินเดีย เข้ามาในแหลมอินโดจีน น่าจะเป็นเหตุทำให้คนไทยขึ้นไปทางใต้ของจีน แต่เมื่อถูกจีนรุกรานก็ต้องถอยร่นไปในเขตแคว้นอัสสัม ฉาน ลาว ไทย และบริเวณตังเกี๋ยหรือบริเวณเวียดนามเหนือปัจจุบัน นักวิชาการที่สนับสนุนความคิดนี้ก็มี นายแพทย์สุด แสงวิเชียร ผู้ค้นคว้าโดยอาศัยหลักฐานจากการเปรียบเทียบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินที่ขุดค้นพบในบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี

๕. เดิมคนไทยอยู่ในบริเวณคาบสมุทรมลายูและหมู่เกาะต่าง ๆ ในอินโดนีเชียก่อน แล้วต่อมาก็อพยพเข้าสู่บริเวณประเทศไทยปัจจุบัน ความคิดนี้ค่อนข้างใหม่มาก ผู้เสนอคือ สมศักดิ์ สุวรรณสมบูรณ์ เขาใช้หลักฐานทางด้านการแพทย์ คือการสุ่มตัวอย่างกลุ่มเลือดของคนไทยกับอินโดจีนปัจจุบัน ปรากฏว่ามีความคล้ายคลึงกัน

จากที่กล่าวมาทั้งหมดก็แสดงให้เห็นว่า ปัญหาเรื่องความเป็นมาของคนไทยก่อนสมัยประวัติศาสตร์ยังไม่ยุติ แต่เท่าที่เราสามารถยึดถือได้ชั่วคราวก็คือความเชื่อของนักวิชาการที่ได้รับความนิยมในข้อ ๒ และ ๓ นั่นคือคนไทยอพยพจากถิ่นอื่นเข้ามาในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแนวการอพยพเป็นแนวเหนือลงมาทางใต้ กระจัดกระจายตามบริเวณที่ใกล้เคียงกันทางตอนใต้ของจีน เช่น ตามบริเวณมณฑลเสฉวน ยูนนาน แคว้นอัสสัม ฉาน ตอนเหนือของเวียดนาม ลาว และกัมพูชา เป็นต้นส่วนความเชื่อในข้อ ๔ และ ๕ นับว่าค่อนข้างใหม่ ยังไม่เป็นที่ยอมรับหรือมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางต่อความเข้าใจของคนไทยในด้านความเป็นมาของตนเอง อย่างไรก็ดี สำหรับความเชื่อในข้อ ๔ กำลังเป็นที่ยอมรับและเป็นที่สนใจมากขึ้นในปัจจุบัน

ข้อมูลนี้รวบรวมโดย พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล จากหนังสือ “เอกสารประกอบการให้ความรู้ทางวัฒนธรรมไทยแก่ผู้เดินทางไปต่างประเทศ” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

“ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติศาสตร์ คือ อะไร


ความเข้าใจเรื่องนิยามประวัติศาสตร์ มักจะให้ความสำคัญผิดที่ผิดทาง จนทำให้วิธีคิดเรื่องประวัติศาสตร์แตกต่างจากมันควรจะเป็น
เพราะเวลาคนพูดถึงประวัติศาสตร์ มักจะเข้าใจว่าเป็นเรื่องของอดีต ซึ่งแม้ว่าจะไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกนัก
นิยามที่ผมชอบยกมากพูดมากที่สุด คือ นิยามของคนเมื่อประมาณ 2000 พันกว่าปีที่แล้วอย่าง Cicero (106 BC – 43 BC) ที่กล่าวไว้ว่า
History is the witness that testifies to the passing of time; it illumines reality, vitalizes memory, provides guidance in daily life and brings us tidings of antiquity.
ประวัติศาสตร์ คือ พยานที่ให้การสิ่งที่ผ่านมาแล้ว ที่มันพยายามวาดภาพความจริง สร้างภาพความทรงจำ…
และนี่คือ ประเด็นที่สำคัญว่า ประวัติศาสตร์ ไม่ใช่แค่เรื่องของอดีต แต่มันคือ การวาดภาพความจริง หรือสร้างภาพในความทรงจำของมนุษย์ ซึ่งคนวาดจะวาดเหมือน หรือ ไม่เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นหรือไม่ วิธีการศึกษามันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า



หากคุณเข้าใจว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของอดีตแล้ว วิธีคิดเรื่องประวัติศาสตร์ก็จะเป็นเรื่องที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะอดีต โดยตัวมันเองนั้นเปลี่ยนแปลงไม่ได้
แต่ว่า คุณเข้าใจความหมายของคำว่า “ประวัติศาสตร์” ที่ให้ความสนใจกับคำว่า “การวาดภาพอดีต” นั้น คุณก็จะเข้าใจได้ว่า การวาดภาพอดีตนั้น ไม่จำเป็นต้องมีเพียงภาพเดียวเท่านั้น และแน่นอนว่า การวาดภาพที่ผ่านมา ไม่จำเป็นว่าจะต้องถูกต้องเสมอไป ซึ่งอาจแปลได้ว่า “ประวัติศาสตร์ไม่ได้มีเพียงภาพเดียว และอาจเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ”
การวาดภาพประวัติศาสตร์ จึงมีเงื่อนไขต่างๆ มากมายที่จะบอกได้ว่า “ภาพวาดทางประวัติศาสตร์” จริง / ไม่จริง, สมเหตุสมผล / เลื่อนลอย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนั้นก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสนใจเรื่อง “หลักฐานทางประวัติศาสตร์” ที่ผู้วาดภาพประวัติศาสตร์นั้นใช้ เพราะเราไม่อาจทราบได้เลยว่า ผู้วาดภาพประวัติศาสตร์นั้นมีเหตุผลหรือแรงจูงใจในการสรรค์สร้าง “ประวัติศาสตร์” อย่างไร
การเรียนประวัติศาสตร์ที่ดีจึงไม่ควรเรียนประวัติศาสตร์ด้วยการชื่นชมฝีไม้ลายมือของคนวาดและผลงานเพียงอย่างเดียว แต่หากเป็นการพยายามตั้งคำถามที่ว่า คนวาดภาพประวัติศาสตร์วาดอย่างไร เหมือน – ไม่เหมือน, มีอคติ – ไม่มีอคติ, มีเจตนาแฝง-บันทึกตามหลักที่ควรจะเป็นหรือไม่ หรือใช้หลักฐานประเภทได้ มีความรอบด้าน มีเหตุมีผลผ่านกระบวนการทางประวัติศาสตร์มากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้ ความหมายของคำว่าประวัติศาสตร์ ในทั่วไป ยังมีการให้ความสำคัญกับเรื่อง ขนาด หรือ จำนวน ด้วย กล่าวคือ เรื่องราวประวัติศาสตร์ มักจะสนใจสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์จำนวนมากในสังคม ที่มีความเกี่ยวพันกับมนุษย์ในแง่มุมต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม รวมถึงคุณค่าต่างๆ

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พระพุทธรูปสลักเล่อซัน

พระพุทธรูปสลักเล่อซัน ประติมากรรมระดับโลก
พระพุทธรูปสลักเล่อซัน ตั้งอยู่บริเวณที่มีแม่น้ำไหลผ่านสามสาย คือ ต้าตู้เหอ ชิงอีเจียง และหมินเจียง ในเขตเมืองเล่อซัน อาณาบริเวณโดยรอบยังประกอบด้วย เขาหลิงหยุน สุสานในถ้ำริมผาม๋าเฮ่า เขาอูโหยว และบริเวณเขาอูโหยวที่เชื่อมต่อกับเขาหลิงหยุนซันและเขากุยเฉิงซัน ยังประกอบขึ้นเป็นทิวทัศน์อันน่าพิศวงรูปพระนอนขนาดใหญ่ซึ่งมีความยาวราว 1,300 เมตร รวมพื้นที่ราว 8 ตร.กม. ซึ่งทั้งหมดรวมอยู่ในเขตทิวทัศน์ของเทือกเขาเอ๋อเหมยซัน

พระพุทธรูปสลักริมหน้าผาเล่อซัน สร้างขึ้นในสมัยจักรพรรดิถังเสวียนจง แห่งราชวงศ์ถัง ต้นรัชสมัยไคหยวน ปี ค.ศ.713 โดยการเจาะสกัดหินบนเขาเป็นพระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท หลังพิงเขา หันหน้าสู่แม่น้ำหมินเจียง มีความสูง 71 เมตร กว้าง 10 เมตร ซึ่งใหญ่กว่าพระพุทธรูปหินสลักที่ถ้ำผาหยุนกัง(ต้าถง)ในมณฑลซันซี(มรดกโลกทางวัฒนธรรม ปี 2001)ถึง 3 เท่า พระพุทธรูปเล่อซันสร้างขึ้นโดยจำลองแบบมาจากพระอาจารย์ไห่ทง แห่งวัดหลิงหยุน ใช้เวลาก่อสร้างนาน 90 ปี จนมาสำเร็จในปี ค.ศ.803 ในสมัยจักรพรรดิถังเต๋อจง แกะสลักขึ้นด้วยฝีมือช่างงามวิจิตร ลายเส้นที่พลิ้วไหวและสัดส่วนขององค์พระที่ได้สมดุล เต็มไปด้วยพลังที่แผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาล ล้วนสะท้อนถึงศิลปวัฒนธรรมอันเฟื่องฟูในยุคราชวงศ์ถัง

สิ่งหนึ่งที่สามารถอนุรักษ์องค์พระเล่อซันให้คงความสง่างามมาจนถึงวันนี้ได้ คือ การเจาะทางระบายน้ำไหลด้านหลังกรรณทั้งสองและเศียรองค์พระ เพื่อกันการกัดเซาะของน้ำฝนไม่ให้ไหลบนตัวองค์พระและทำลายทัศนียภาพขององค์พระพุทธรูป ทำให้องค์พระไม่สึกกร่อนเสียหายมาก สามารถคงรูปลักษณ์ใกล้เคียงกับเมื่อพันกว่าปีก่อน

วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2554

หลักฐานทางประวัติศาสตร์คืออะไร แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในอดีต ที่ใช้เครื่องมือสำคัญในการสืบค้นแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมาการจำแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์มี 2 ประเภท คือ
1. ประเภทหลักฐานที่แบ่งตามลักษณะยุคสมัย
2. ประเภทหลักฐานที่แบ่งตามลักษณะการบันทึก
หลักฐานที่แบ่งตามลักษณะยุคสมัยแบ่งออกเป็น 2 ยุคคือ
1. หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานที่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ถือเอาหลักฐานทางโบราณคดีเป็นหลักฐานที่สำคัญ เช่นซากโครงกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกสัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ รูปภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ สถานที่ฝังศพ เป็นต้น
2. หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์อักษรและบันทึกบนวัสดุต่าง ๆ เช่นหนังสัตว์ ศิลา ( หิน ) เป็นต้น จึงมีหลักฐานประเภทที่มีลายลักษณ์อักษรขึ้น ได้แก่ศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกและประกาศทางราชการ
หลักฐานที่แบ่งตามลักษณะการบันทึก แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
จารึก
ตำนาน
พระราชพงศาวดาร
จดหมายเหตุ
เอกสารการปกครอง
งามเขียนทางประวัติศาสตร์ หรือประวัติศาสตร์นิพนธ์
2. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่
2.1โบราณสถาน โบราณวัตถุ
2.2เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องประดับ เครื่องปั้นดินเผา
2.3วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์